ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
15 August, 2021

วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้าย

ในปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของการสูญเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งโรคมะเร็งเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนและมีการลุกลามด้วยความรวดเร็ว สามารถคร่าชีวิตของผู้ป่วยหรือแม้แต่ในคนที่มั่นใจตนเองว่าสุขภาพดีมานักต่อนักแล้ว ซึ่งล้วนแต่เป็นบุคคลที่จากไปโดยที่ไม่ทันได้ร่ำลาเสียด้วยซ้ำ ไม่มีใครอยากประสบพบเจอ แต่สุดท้ายคนเราก็ไม่อาจหลักเลี่ยงโรคภัยไข้เจ็บหรือความตายได้ เมื่อเหตุการณ์มันได้เกิดขึ้นแล้วนั้น เราควรจะต้องเรียนรู้การอยู่กับมันอย่างมีความสุข โดยเฉพาะญาติหรือบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วยต้องมีสติและคอยเป็นผู้เติมกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย คอยดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างน้อยก็พอช่วยลดความทรมานจากโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ไม่มากก็น้อย  

วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้าย 

สำหรับญาติหรือบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วยมีวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งควรคำนึงถึงและพึงปฏิบัติมีดังนี้ 

  1. เมื่อได้มีการพูดคุยกับแพทย์แล้วจะต้องมีการแจ้งข่าวการรักษาและภาวะของโรคให้ผู้ป่วยทราบ จะต้องมีเทคนิคในการบอกหรือแจ้งข่าวแก่ผู้ป่วยโดยจะต้องเลือกบรรยากาศและโอกาสที่เหมาะสม ใช้คำพูดที่นุ่มนวล ให้ความให้กำลังใจและบอกความจริงแก่ผู้ป่วยอย่างซื่อตรง ใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายและไม่อ้อมค้อม เมื่อแจ้งให้ผู้ป่วยทราบแล้วควรใช้เวลาอยู่กับผู้ป่วยอีกสักพักในการเยียวยารักษาสภาพจิตใจให้แก่ผู้ป่วยอย่างอ่อนโยนด้วยความเป็นมิตร แสดงออกถึงความพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างไม่จากไปไหน 
  1. มีการวางแผนการดูแลซึ่งผู้ป่วยหรือญาติอาจจะไม่สามารถตัดสินใจการรักษาได้ ซึ่งจะสร้างความลำบากใจให้เกิดขึ้นในการตัดสินใจ เนื่องจากวิธีการรักษาในแต่ละรูปแบบมีความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของเครื่องมือหรือของอุปกรณ์รักษาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเจาะคอเพื่อใช้ท่อช่วยหายใจ เครื่องปั๊มหัวใจ มีการต่อสายให้อาหาร นอกจากจะมีความเจ็บปวดต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมากแล้วยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงด้วย ซึ่งในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งควรมีการทำการตกลงแผนการรักษาไว้ล่วงหน้าและอธิบายถึงปัจจัยเสี่ยงในแต่ละวิธีการรักษาอย่างชัดเจนให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจด้วยตนเอง 
  1. มีการสอบถามถึงการวางแผนการรักษาร่วมกันกับผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นจะต้องมีการมาพบแพทย์เป็นประจำ ต้องทำการบำบัด จะต้องมีการถามความเห็นว่าต้องการรักษาตัวแบบไปกลับบ้านหรือมารักษาที่โรงพยาบาล หากถึงเวลาที่ไม่คาดคิดต้องการให้เจาะคอเพื่อใส่เครื่องช่วยหายใจหรือไม่ หรือมีการจัดทำเอกสารเพื่อมอบอำนาจการตัดสินใจให้แก่บุคคลใกล้ชิดเป็นต้น 
  1. ความต้องการหรือความปรารถนาครั้งสุดท้ายในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งนั้น ผู้ป่วยมักจะมีสิ่งที่ค้างคาใจหรือต้องการอยากจะทำให้สำเร็จในชีวิต ซึ่งหากผู้ป่วยมีความกังวลใจต่อความไม่สำเร็จนี้จะทำให้เกิดความทุกข์ภายในจิตใจ ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีความปรารถนาใดหรือไม่ หากไม่เกินความสามารถที่จะสามารถหาให้ทำให้ได้ ก็ควรที่จะทำให้ผู้ป่วยสมปรารถนา ไม่ให้ผู้ป่วยติดค้างหรือมีห่วงกับเรื่องใด ๆ ก็ตาม จะได้มีความสุขเรียกอีกอย่างว่าจากไปอย่างสงบนั่นเอง